• Home
  • News
  • Our Members
    • Audio, Visual and Interactive Media
    • Cultural and Natural Heritage
    • Books and Press
    • Design and Creative Service
    • Performance and Celebration
    • Visual Arts and Crafts
    • Others
  • Services
  • Resources
  • About Us
  • Login
  • Register
  • ພາສາລາວ
Search
Moom Creative – A cultural and creative industries hub in Laos
  • Home
  • News
  • Our Members
    • Audio, Visual and Interactive Media
    • Cultural and Natural Heritage
    • Books and Press
    • Design and Creative Service
    • Performance and Celebration
    • Visual Arts and Crafts
    • Others
  • Services
  • Resources
  • About Us
  • Login
  • Register
  • ພາສາລາວ
  • News
  • News & Events
  • Uncategorized

The combination between old community and business as Hostel

08/Oct/2018
948
0
ธุรกิจใหม่ในชุมชนเก่า การผสมวัฒนธรรมผ่าน Hostel
 Posted On 15 July 2018 nopphawhan.t

“เมื่อสักประมาณ 6 ปีที่แล้ว เวลาเราบอกใครว่า จะขอเช่าตึกทำโฮสเทล มีแต่คนบอกว่า ห๊ะ! คืออะไร? ถึงขั้นบอกว่าไม่รู้จัก ไม่ให้เช่า แต่เดี๋ยวนี้มีขึ้นป้ายเลยว่า ให้เช่าสำหรับทำโฮสเทล ทุกคนรู้หมดแล้วว่าโฮสเทลคืออะไร”

ที่พักราคาไม่แรง อยู่แบบห้องรวมมีพื้นที่ส่วนกลางให้นั่งเล่น กินข้าว แลกเปลี่ยนข้อมูล รู้จักเพื่อนใหม่ นี่คือนิยามของ ‘โฮสเทล’ ที่พักสำหรับนักเดินทาง ซึ่งเข้ามาบูมในประเทศไทยช่วงหลายปีที่ผ่านมาและกลายเป็นธุรกิจในฝันของหลายๆ คน

The MATTER จึงพูดคุยกับเพื่อนรัก 5 คน ผู้เป็นแอดมินเพจ How to Hostel และผู้ร่วมก่อตั้ง Old Town Hostel ได้แก่ วงศวัฒน์ จิรังบุญกุล,นรุตม์ชัย จักรภีร์ศิริสุข, คมสิทธิ์ แสงมณี, ธนัท ภาอารยพัฒน์ และธรรมนูญ วิศิษฏ์ศักดิ์ เรื่องการผสานโฮสเทลเข้ากับวัฒนธรรมแบบไทยๆ รวมถึงความเป็นไปของธุรกิจโฮสเทลในปัจจุบัน

 

โฮสเทลบูม เพราะคนเจนวาย

ที่พักแบบโฮสเทลเกิดจากวิธีท่องเที่ยวที่เปลี่ยนไป ในยุคพ่อแม่เขาจะไปเที่ยวแบบทัวร์ ซื้อแพคเกจและไปพักตามโรงแรม ตื่น 6 โมง-กินข้าว 7 โมง-ขึ้นรถทัวร์ 8 โมง แต่คนเจน Y อยากท่องเที่ยวแบบที่แตกต่างออกไป ชอบค้นคว้ามากขึ้น มีนักท่องเที่ยวแบบเดี่ยวๆ แบ็กแพ็คเกอร์เยอะขึ้น การท่องเที่ยวแบบนี้เป็นเทรนด์ในยุโรปมาสักพักแล้ว แต่ของไทยเริ่มชัดเจนเมื่อ 3-5 ปีที่ผ่านมา ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของตลาดโฮสเทลในประเทศไทย

 

นักท่องเที่ยวโหยหาจิตวิญญาณท้องถิ่น

จุดขายของโรงแรมคือ ตั้งอยู่บนถนนใหญ่ มีความสะดวกสบาย แต่นักท่องเที่ยวกลุ่มหนึ่งกลับเลือกพักโฮสเทลในซอยเล็กๆ หรือชุมชนเก่าแก่ เพราะมุ่งเน้นเรื่องจิตวิญญาณของสถานที่มากขึ้น เขาอยากเห็นวัฒนธรรมและความเป็นท้องถิ่นจริงๆ ซึ่งไม่มีในบ้านตัวเอง นักท่องเที่ยวอาจไม่อยากเห็นอะไรที่เจริญแล้ว เพราะงานสถาปัตยกรรมที่ไหนก็เหมือนกัน ตึกโคโลเนียลที่บ้านเขาก็มี

นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้จึงเลือกที่พักจากวัฒนธรรมที่เขาต้องการเรียนรู้ เช่น ไปเมืองแขก ก็อยากได้กลิ่นเครื่องเทศ มาเมืองไทยก็อยากได้กลิ่นกระเทียม กะเพรา เดินผ่านตลาดน้อย อยากได้ยินเสียงเคาะกระทะก๊อกๆๆ มีรถสั่นกระดิ่งขายผลไม้ หรือพิธีกรรมต่างๆ

สิ่งเหล่านี้ช่วยเพิ่มมูลค่าให้โฮสเทลแต่ละแห่งและเป็นเหตุผลให้โฮสเทลส่วนหนึ่งไปอยู่ตามเมืองเก่าอย่างเกาะรัตนโกสินทร์หรือเยาวราช

 

การอยู่ร่วมกับชุมชน ไม่มีทฤษฎีตายตัว

แต่ยอมรับว่า การตั้งโฮสเทลในชุมชนเก่า ก็อาจทำให้คนท้องถิ่นเกิดอาการ culture shockขึ้นมาได้ เพราะโฮสเทลเป็นวัฒนธรรมจากตะวันตก และคนที่มาพักส่วนใหญ่ก็เป็นวัยรุ่นคึกคะนอง กินเหล้า เล่นดนตรีเสียงดัง ซึ่งอาจไปรบกวนคนในชุมชน

โดยเฉพาะคนรุ่นพ่อรุ่นปู่ อายุ 50-60 ปีขึ้นไป เขารู้ว่าพื้นที่ในเมืองเก่าคือความสงบ เช่น ในชุมชนตลาดน้อย แถวเยาวราชอยู่กันมา 60-70ปี ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 รัชกาลที่ 7 ข้างในก็คือชุมชนคนจีนทั่วไป แต่อยู่ดีๆ มีโฮสเทลเหมือนเป็นเอเลี่ยนโพล่งเข้าไป เขาก็ตกใจเหมือนกันว่า มันเกิดอะไรขึ้น?

โฮสเทลและชุมชนก็ต้องพยายามปรับตัวเข้าหากัน มันไม่มีทฤษฎีตายตัว และขึ้นอยู่กับการผ่อนปรน แต่ส่วนใหญ่จะมีปัญหาระยะแรก แต่พอเข้าใจกันแล้ว ก็มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

“เราต้องพยายามควบคุมคนของเรา อีกอย่างเราพยายามสร้างโอกาสให้เขายกตัวอย่างเช่น คุณลุงอาจจะทำร้านขายของชำมา 30-40 ปีแล้ว เราอาจจะเสนอว่า จะส่งคนไปช่วยซื้อของนะ จะแนะนำให้ลูกค้าไปลองอาหารที่ร้าน จะทำทำป้ายเมนูภาษาอังกฤษไปให้ เป็นการส่งเสริมและสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนไปในตัว” ธนัท ภาอารยพัฒน์ กล่าว

แต่บางชุมชนก็ชอบที่มีโฮสเทลเกิดขึ้น เช่น ซอยที่เคยเปลี่ยว แค่ 2 ทุ่มก็เดินไม่ได้แล้ว กลับมีความปลอดภัยมากขึ้น เพราะมีนักท่องเที่ยวเข้าออกตลอดเวลา เริ่มมีกิจกรรมตอนกลางคืน ตำรวจก็เข้ามาเป็นหูเป็นตาบ่อยขึ้น คนในชุมชนก็สามารถประกอบอาชีพได้หลากหลายมากขึ้น ร้านอาหารตามสั่ง ร้านกาแฟ ก็เริ่มมีเมนูภาษาอังกฤษเพื่อขายนักท่องเที่ยวที่เป็นลูกค้ากลุ่มใหม่

 

 

Baby Mindset คือหัวใจของพนักงานโฮสเทล

สำหรับภาพรวมโฮสเทลของไทยสวยสู้กับต่างประเทศได้สบาย แต่สิ่งที่ยังมีน้อย คือการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้ากับลูกค้า หรือลูกค้ากับพนักงาน เพราะช่องว่างนี้น่าจะเกิดจาก คนไทยถูกปลูกฝังให้รักนวลสงวนตัว ไม่ค่อยกล้าออกความเห็นหรือกล้าแสดงออก ต่างจากโฮสเทลเมืองนอกที่เราจะได้เห็นพนักงานนั่งดื่มเหล้า เล่นเกมส์กับลูกค้าอย่างไม่ต้องกังวล เข้าไปยังไม่รู้เลยว่าคนไหนเป็นพนักงาน คนไหนลูกค้า

โฮสเทลจึงต้องเทรนพนักงานคนไทยให้กล้าคุยกับฝรั่ง ซึ่งพนักงานที่อยู่ในโฮสเทลส่วนใหญ่ก็เป็นคนที่มี baby mindset คืออยากเรียนรู้ อยากคุยกับคนต่างชาติ เพียงแต่ไม่มีโอกาส การทำงานโฮสเทลก็เหมือนการกดปุ่มให้เขาเปิดศักยภาพตัวเองออกมา ทำให้เขามีแรงบันดาลใจ อยากชวนลูกค้าคุย แลกเปลี่ยนภาษาวัฒนธรรมกัน

คนที่มาสมัครเป็นพนักงานโฮสเทลมีหลากหลายและมีผู้สูงอายุมาสมัครเยอะเหมือนกัน อย่าง รปภ. ของเรา เขาอยู่ที่นี่กับเราตั้งแต่เปิดและพูดภาษาอังกฤษไม่ได้เลยแม้แต่คำเดียว ตอนนี้เขาก็เริ่มพูดภาษาอังกฤษแล้ว เริ่มพยายามฟังว่าลูกค้าพูดอะไรกัน เริ่มซื้อหนังสือมาอ่านเองระหว่างเวลาว่างๆ ตอนกลางคืน ก็ทำให้เขาเริ่มพัฒนาตัวเองมากขึ้น เริ่มคุ้นเคยกับวัฒนธรรมต่างถิ่น ทักทายแบบฝรั่งได้แล้ว ตอนแรก รปภ. คนนี้จะเกษียนภายใน 1 ปี ปัจจุบันนี้เขาก็ยังอยู่ 3 ปีกว่าเกือบ 4 ปีแล้ว

 

โฮสเทลลงทุนไม่มาก แต่อยู่รอดจริงแค่ 20%

สำหรับกระแสโฮสเทลในประเทศไทยมีมาสักพักแล้ว แต่บูมมากๆ ช่วง 1-2 ปีที่แล้ว บวกกับความบูมของธุรกิจท่องเที่ยว ทำให้คนสนใจเยอะขึ้น เพราะการทำโฮสเทลก็เป็นจุดเริ่มต้นของการธุรกิจโรงแรมที่ง่ายที่สุด ใช้งบประมาณลงทุน 5-8 ล้านบาทต่อแห่ง ตกแต่งแบบเรียบง่าย และกรุงเทพฯ ก็มีตึกเก่าไม่ได้ใช้ประโยชน์อยู่หลายแห่ง ที่เอามาพัฒนาได้

แต่จริงๆ การทำธุรกิจโฮสเทลก็ไม่ใช่เรื่องง่าย เจ้าของหรือผู้ประกอบการต้องดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะคนที่มาพักเขาก็อยากพบปะกับเรา นั่นเป็นเหตุผลว่าทำไมลูกค้าต่างชาติถึงยอมเลือกโฮสเทล เพราะเขาต้องการความอุ่นใจ แหล่งข้อมูลข่าวสาร พบปะผู้คน เข้าถึงวัฒนธรรมท้องถิ่น ไม่งั้นเขาก็ไปพัก ห้องเช่ารายวันราคาถูกก็ได้

คมสิทธิ์ แสงมณี ให้ความเห็นว่า “โฮสเทลเหมือนกับทุกธุรกิจ 10-20% ที่ประสบความสำเร็จ คนที่ดีก็ดีต่อเนื่อง เปิดแล้วเปิดอีก ขยายหลายสาขา ส่วนที่ๆ ทำออกมาแล้วหายไปภายใน 1-2 ปีก็มี คนบางกลุ่มคิดว่าโฮสเทลทำง่าย รายได้ดี แต่จริงๆ โฮสเทลเป็นธุรกิจต้องการความใส่ใจค่อนข้างสูง เพราะลูกค้าที่เข้าพัก จะแตกต่างจากพวกเข้าพักโรงแรมโดยสิ้นเชิง”

 

อยากอยู่รอดต้องหารายได้เสริมและมุ่งสู่ความ Niche

ตอนที่เราเริ่มลงทุน มีคนเปิดขึ้นมาบ้าง แต่ไม่เยอะเท่าไหร่ ตอนนั้นมีแค่ประมาณ 200 กว่าแห่งในกรุงเทพฯ แต่ปัจจุบันเกือบ 400 แห่งทั่วกรุงเทพฯ และ 2,000 แห่งทั่วประเทศ แล้วตอนนี้โฮสเทลเปิดใหม่ ตกแต่งสวยเกือบจะเป็นโรงแรมและต้นทุนอาจแพงขึ้นถึง 2 เท่า

การแข่งขันในธุรกิจโฮสเทลจึงเพิ่มขึ้นทั้งราคาและคุณภาพสินค้า ลูกค้ามีทางเลือกมากขึ้น แต่ประเด็นหนึ่งของคนทำโฮสเทลคือไม่สามารถขึ้นราคาได้ เพราะขึ้นราคาไปนิดนึงก็ชนกับโรงแรม

โฮสเทลเลยต้องพัฒนาสินค้าอื่นมาเสริม หลายๆ ที่ใช้พื้นที่ล็อบบี้เป็น Mix-used เพื่อก่อให้เกิดรายได้ ไม่ใช่เป็นที่พบปะอย่างเดียวส่วนใหญ่ใช้เป็นคาเฟ่ ร้านอาหาร จักรยานแพจเกจทัวร์ หรือพัฒนาไปเป็นโรงแรมสอนทำอาหาร แกลเลอรี่ ศูนย์โยคะ ต่อยมวย ฯลฯ ที่เหมาะกับคนเฉพาะกลุ่ม

“ล่าสุดเห็นโฮสเทลไปไกลถึงขึ้น อยู่ในทำเลที่เข้าถึงยาก แถวนั้นเงียบสงบ ก็ทำเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมบวกกับโฮสเทล ขายคนเฉพาะกลุ่ม คือคนไทยหรือฝรั่งที่นั่งสมาธิ เขาหาโฮสเทลพวกนี้เพื่อฝึกปฏิบัติธรรมก็มี” ธรรมนูญ วิศิษฏศักดิ์ กล่าวถึงพัฒนาการล่าสุดของโฮสเทล

 

Photo by Watcharapol Saisongkhroh

#HOSTEL
thank you text from  https://thematter.co/pulse/hostel/54915

 

Facebook
Twitter
Google+
Pinterest
WhatsApp
    Previous articleShort film competition for 4000$
    Next articleContemporary Dance Workshop Fanglao
    lookami

    RELATED ARTICLESMORE FROM AUTHOR

    Top Graphic Design Trends 2019: Fresh Hot & Bold 

    Gender(ed) in Lao Art

    ถ่ายรูปกับงานอาร์ตให้โลกจำในงาน BAB (Bangkok Art Biennale 2018)

    EVAW LAOS: ບໍ່ປະປ່ອຍໃຫ້ຜູ່ໃດໄວ້ຂ້າງຫຼັງ

    Emerging Artists Fair 2018

    LEAVE A REPLY Cancel reply

    Log in to leave a comment

    Subscribe

    Loading

    About Us

    Facebook

    Complete Service

    Powered by STELLA

    FAQ

    Opening Hours

    Monday-Friday: 08:00AM - 05:00PM

    Saturday-Sunday: Closed

    Service hour and date are customisable. Please contact us.

    Supported by

    © 2018 Moom Creative | All rights reserved | Develop by LAOITDEV

    STELLA BIG MEETING ROOM (5.5m x 10m):

     

    We also have a big meeting room for rent. It is designed by trainers for trainers. It is a space optimized for learning in both formal and in-formal settings. Booking required. Our offering prices are:

    1. Full Day: 500,000 kip / day
    2. Half Day: 300,000 kip / half day
    3. Special Case: If you are youth/creative/emerging groups who want to use the space for your work, which can contribute to social development, contact us and let’s explore together on how we can help you.

    CATERING IN SPACE:

    When you book our spaces, we also offer catering services for you at additional costs. We have range of coffee breaks and lunch options for your choosing as below:

    Coffee Break: 15,000 – 20,000 kip / person / time

    Lunch: 30,000 – 50,000 kip / person / time

    ພວກເຮົາຍັງມີຫ້ອງປະຊຸມໃຫ້ເຊົ່າ, ເຊິ່ງຫ້ອງປະຊຸມນີ້ສາມາດອອກແບບໃຫ້ເໝາະກັບການຈັດການຝຶກອົບຮົມ, ກິດຈະກຳ, ແລກປ່ຽນສົນທະນາເລື່ອງຕ່າງໆໄດ້ ທັງແບບທີ່ເປັນທາງການ ແລະ ບໍ່ເປັນທາງການ. ຖ້າທ່ານຕ້ອງການຈອງຫ້ອງປະຊຸມ, ເຊິ່ງພວກເຮົາມີລາຍການດັ່ງນີ້:

    1. ຫ້ອງປະຊຸມໃຫຍ່ໝົດມື້: 500.000 ກີບ/ ມື້
    2. ຫ້ອງປະຊຸມເຄິ່ງມື້: 300.000 ກີບ/ ມື້
    3. ກໍລະນີພິເສດ: ຖ້າຫາກເປັນໄວໜຸ່ມ, ນັກສ້າງສັນ ຫຼື ຜູ້ທີ່ກຳລັງສ້າງສັນຜົນງານໃໝ່ ເຊິ່ງຕ້ອງການໃຊ້ພື້ນທີ່ສຳລັບການເຮັດວຽກທີ່ສາມາດມີສ່ວນຮ່ວມໃນການພັດທະນາສັງຄົມ, ພວກເຮົາມາລົມກັນ ແລະ ຫາວິທີທາງວ່າເຮົາຈະຊ່ວຍເຫຼືອກັນໄດ້ແນວໃດ.

    ການບໍລິການເສີມ
    ເມື່ອທ່ານໄດ້ຈອງຫ້ອງປະຊຸມແລ້ວ, ເຮົາກໍຍັງມີບໍລິການເສີມໃຫ້ທ່ານທັງອາຫານຫວ່າງ ແລະ ອາຫານສວາຍ ເຊິ່ງມີທາງເລືອກດັ່ງນີ້:

    ອາຫານຫວ່າງ: 15.000 – 20.000 ກີບ/ ຄົນ/ ຄັ້ງ

    ອາຫານສວາຍ: 30.000 – 50.000 ກີບ/ ຄົນ/ ຄັ້ງ

    2 ROOMS FOR RENT (4m x 5m; 3.5m x 5.5m): ຫ້ອງໃຫ້ເຊົ່າ :

     

    Apart from the spaces, we have two modest sized office for rent. Price range at $200 – 250 USD. If you need a place for work, make sure to let us know and we can tour you around.

    ນອກເໜືອຈາກພື້ນທີ່ສ່ວນລວມແລ້ວ, ພວກເຮົາຍັງມີ ຫ້ອງການຂະໜາດນ້ອຍໃຫ້ເຊົ່າໃນລາຄາ 200-250 ໂດລາ. ຖ້າທ່ານຕ້ອງການຫ້ອງການສຳລັບເຮັດວຽກ, ພວກເຮົາຍິນດີບໍລິການພາຊົມສະຖານທີ່.

    YOUTH SPACE (6m x 10m) & OUR GARDEN: ພື້ນທີ່ສຳຫຼັບໄວໜຸ່ມ:

     

    This is our common areas where we want to open for public access, especially youth and creatives who would like to use our space for their research, relaxation, and temporary Head Quarters on project planning and implementation. You are welcome to hang out at any time during office hours. No booking required.

    ພື້ນທີ່ສ່ວນນີ້ຂອງເຮົາເປີດກວ້າງສຳຫຼັບທຸກທ່ານ ໂດຍສະເພາະແມ່ນໄວໜຸ່ມ ແລະ ນັກສ້າງສັນ ຜູ້ທີ່ຕ້ອງການນຳໃຊ້ພື້ນທີ່ໃນການຄົ້ນຄວ້າ, ຜ່ອນຄາຍ ຫຼື ເປັນຖານປະຕິບັດການຊົ່ວຄາວໃນການຈັດຕັ້ງປະຕິບັດໂຄງການຕ່າງໆ ພວກເຮົາຍິນດີຕ້ອນຮັບ ທຸກທ່ານທຸກເວລາ ໂດຍບໍ່ຈຳເປັນຕ້ອງຈອງລ່ວງໜ້າ

    MOOMxCreative Room (4m x 5m):

     

    In 2018, this room is fully funded by UNESCO. It aims to be a physical space where entrepreneurs and creative practitioners can use to brainstorm ideas, concepts, and practice their crafts and arts. Booking required. Currently, the pricing option is flexible:

    1. For those who can afford to pay, we charge 150,000 kip per day.
    2. For those who cannot afford to pay, you are welcome to use it for free.

    CATERING IN SPACE:

    When you book our spaces, we also offer catering services for you at additional costs. We have range of coffee breaks and lunch options for your choosing as below:

    Coffee Break: 15,000 – 20,000 kip / person / time

    ໃນປີ 2018, ຫ້ອງປະຊຸມນີ້ແມ່ນໄດ້ຮັບການສະໜັບສະໜູນຈາກ UNESCO. ເຊິ່ງເຮົາໄດ້ຈັດໃຫ້ເປັນສະຖານທີ່ທີ່ໃຫ້ນັກທຸລະກິດເພື່ອສັງຄົມ ແລະ ນັກສິລະປິນລຸ້ນໃໝ່ໄຟແຮງສາມາດເຂົ້າມາລະດົມສະໝອງ ແລກປ່ຽນຄວາມຄິດກັນ ແລະ ຍັງສາມາດຝຶກທັກສະຂອງພວກເຂົາອີກດ້ວຍ.
    1. ສຳລັບຄົນທີ່ສາມາດຈ່າຍໄດ້, ເຮົາເກັບຄ່າທຳນຽມ 150.000 ກີບ/ມື້.
    2. ສຳລັບຄົນທີ່ບໍ່ສາມາດຈ່າຍໄດ້, ເຮົາກໍຍິນດີຕ້ອນຮັບທ່ານໂດຍບໍ່ເສຍຄ່າທຳນຽມ.

    ການບໍລິການເສີມ
    ເມື່ອທ່ານໄດ້ຈອງຫ້ອງປະຊຸມແລ້ວ, ເຮົາກໍຍັງມີບໍລິການເສີມໃຫ້ທ່ານທັງອາຫານຫວ່າງ ແລະ ອາຫານສວາຍ ເຊິ່ງມີທາງເລືອກດັ່ງນີ້:
    Coffee break 15,000 – 20,000 ກີບ/ ຄົນ/ ຄັ້ງ

    CONSULTANCY SERVICE: ບໍລິການໃຫ້ຄຳປຶກສາ

     

    Apart from the spaces, we also offer tailor-made consultancy services on Facilitation, Communication (both traditional and social media), Most Significant Change with Participatory Video, Youth Leadership, Needs Assessment with Participatory Video, Social Business Canvas, Team Building, Design Thinking, Soft Skill Development (creative & critical thinking, decision making, planning, and more).

    ນອກຈາກບໍລິການເຊົ່າພື້ນທີ່ແລ້ວ, ພວກເຮົາຍັງມີບໍລິການໃຫ້ຄຳປຶກສາກ່ຽວກັບການເປັນຜູ້ອຳນວຍຄວາມສະດວກ, ການສື່ສານ (ທັງແບບດັ້ງເດີມ ແລະ ສື່ສານທາງສັງຄົມອອນລາຍ), ການເບິ່ງການປ່ຽນແປງຈາກຜູ້ເຂົ້າຮ່ວມດ້ວຍການເຮັດ ວີດີໂອ, ຜູ້ນໍາໄວໜຸ່ມ, ການປະເມີນຄວາມຕ້ອງການດ້ວຍວີດີໂອແບບມີສ່ວນຮ່ວມ, ແຜນວາດທຸລະກິດທາງສັງຄົມ, ການສ້າງທີມ, ການອອກແບບຄວາມຄິດ, ການພັດທະນາທັກສະຊີວິດ (ຄວາມຄິດສ້າງສັນ ແລະ ຄິດແບບຮອບຄອບ, ການຕັດສິນໃຈ, ການວາງແຜນ ແລະ ອື່ນໆ).

    Edit with Live CSS
    Save
    Write CSS OR LESS and hit save. CTRL + SPACE for auto-complete.