เสียงหัวเราะของเมดูซ่า ฮีโร่ที่มีพันใบหน้าในโลกของนักคิดและหนังสือเชิงทฤษฎี เราอาจรู้สึกว่าเป็นโลกที่น่าจะจืดชืดไม่น่าตื่นเต้น แต่จริงๆ แล้ว นักคิดทั้งหลายก็อาจจะเป็นนักสร้างสรรค์ในตัวเองด้วย ด้านหนึ่งการคิดสิ่งต่างๆ กับโลกใบนี้ในมุมมองใหม่ๆ ก็ถือว่าเป็นความสร้างสรรค์อย่างหนึ่ง และแน่นอนว่านักทฤษฎีก็ต้องเป็นนักเขียน นักสื่อสาร เพื่อสื่อสารสิ่งที่ตัวเองได้คิดขึ้นมากับโลกใบนี้ – เข้าใจแค่ไหนก็ค่อยว่ากัน

ในงานเขียนเชิงทฤษฎีจึงมักมีความเก๋บางอย่างอยู่ในนั้น ความเก๋ที่เหล่านักคิดมักมีเรื่องราว หรือการใช้กลเม็ดทางภาษา เช่น ความเปรียบ ด้วยการตั้งชื่ออย่างมีสีสันซึ่งเป็นการสื่อสารความคิดอันซับซ้อนออกมาได้อย่างมีประสิทธิภาพ The MATTER ชวนไปรู้จักกับตัวบทเชิงทฤษฎีสำคัญๆ ที่มีผลกับความคิดในโลกสมัยใหม่ 8 เล่ม

The Prison Notebooks – Antonio Gramsci

งานเขียนที่เขียนจากในคุก กรัมซีเป็นอีกหนึ่งในนักคิดเชิงวิพากษ์ที่ชีวิตแสนผกผัน เพราะด้วยความเป็นนักคิดจึงถูกจองจำไว้ในคุก แต่กรัมซีผู้ซึ่งเขียนงานเชิงวิพากษ์ระบบและการปกครองที่ควบคุมบงการเราอย่างซับซ้อนก็ไม่ได้ย่อท้อต่อการถูกจำกัดอิสรภาพแต่อย่างใด ในช่วงที่อยู่ในคุก (หรืออาจจะเพราะยิ่งติดคุกยิ่งมีเวลา) พี่แกก็ยังอุตส่าห์เขียนงานกว่า 30 เล่ม มีความยาวกว่า 3,000 หน้า กรัมซีเป็นนักคิดที่คิดต่อเนื่องจากมาร์กซ แนวคิดเรื่อง Cultural Hegemony หรือการครอบงำเชิงวัฒนธรรมที่เสนอว่าในสังคมทุนนิยม เราถูกครอบงำปกครองผ่านมิติทางวัฒนธรรม เพื่อรักษาอำนาจไว้ของชนชั้นครอบงำ ดูเหมือนความพยายามของกรัมซีที่แม้จะถูกจับแต่ยังคงคิดงานต่อไปก็ส่งผล เพราะงานของกรัมซีเป็นหมุดหมายทางความคิดสำคัญที่ส่งผลต่อเนื่อง ทั้งในงานสายมาร์กซไปจนถึงแนวคิดที่กลับมาทบทวนมิติทางวัฒนธรรมที่ครอบงำเรา ตั้งแต่ภาษา วรรณกรรม ตำนาน ศาสนา และวัฒนธรรมป็อบต่างๆ

The Hero with a Thousand Faces – Joseph Campbell

งานของนักคิดแนววรรณกรรม-คติชนวิทยาที่ศึกษาเรื่องเล่าตำนาน โจเซฟ แคมป์เบล เป็นนักคิดในยุคโครงสร้างนิยม ที่เชื่อว่าในภาษาและเรื่องเล่าเรามีโครงสร้างอันเป็นสากลบางประการ ในหนังสือชื่อเท่ ‘ฮีโร่ผู้มีหน้านับพัน’ เป็นงานที่แกไปรวบรวมนิทานทั่วโลกแล้ววิเคราะห์เพื่อหาโครงสร้างของเรื่องเล่าตำนานทั้งหลาย เคมเบลเสนอว่าในเรื่องเล่าแนววีรบุรุษไม่ว่าจะมีเรื่องเล่าแบบไหน ต่างก็จะมีโครงสร้างการผจญภัยที่เหมือนกัน (monomyth) มีจุดเริ่มต้น มีผู้ช่วยเหลือที่เหนือธรรมชาติ มีความลับ การเผยความลับ การค้นพบพลัง การได้รางวัล เจ้าโครงสร้างตำนานในสายนี้ถือว่าสนุกดี เพราะทุกวันนี้ในเรื่องแนววีรบุรุษนักสู้ สำหรับมนุษย์เราก็ยังเล่าเรื่องราวในโครงสร้างที่แคมป์เบลอธิบายไว้อยู่ – เป็นความสากลที่ยังคงอยู่ในความคิดของเรา

Mythologies – Roland Barthes

ความคิด ความเชื่อ และคุณค่าในโลกสมัยใหม่ สิ่งนี้ดี ไม่ดี ความหมายต่างๆ ที่เราต่างมอบให้ลงไปในสัญญะต่างๆ จริงๆ ก็เหมือนกับความเชื่อในโลกโบราณ คือเรายึดมั่นว่ามันจริง ทั้งๆ ที่อาจจะไม่มีจริงก็ได้ โรลองค์ บาร์ตส จึงเรียกงานที่วิเคราะห์การให้ความหมายของสังคมทุนนิยม – ค่านิยมของชนชั้นกลาง – ด้วยคำที่ล้อกับปรณัมตำนาน เป็นคุณค่าความคิดในโลกสมัยใหม่ที่เรายึดมั่นถือมั่นไม่ต่างอะไรกับเรื่องทวยเทพและเรื่องเหนือจริง ‘มายาคติ’ ถือเป็นแนวคิดสำคัญสำหรับโลกของความคิดสมัยใหม่ บาร์ตสพาเราไปสำรวจการให้คุณค่าความหมายกับสิ่งต่างๆ ท้าทายความคิดและความเชื่อของเรา ว่าจริงๆ แล้วถูกสร้างขึ้นมาอย่างไร บาร์ตสพาเราไปดูตั้งแต่กิจกรรมการเล่นมวยปล้ำ ภาพของสมอง ไปจนถึงของเล่น ปกนิตยสาร ผงซักฟอก ซึ่งสุดท้ายความหมายที่เราเคยเชื่ออาจไม่ได้มีความหมายอะไรที่แท้จริงเลย

Simulacra and Simulation – Jean Baudrillard

ชื่อฟังดูเป็นเดอะ เมทริกซ์ แนวคิดของโบลิยาร์ก็ถือเป็นแนวคิดที่ส่งอิทธิพลกับจินตนาการแบบเมทริกซ์ๆ Simulacra and Simulation – เป็นหนังสือและแนวคิดที่เข้าใจยากนิดนึง หลักๆ เสนอว่าเราอยู่ในโลกที่ความเป็นจริง (reality) ถูกบดบังด้วยระบบสัญญะและสัญลักษณ์ต่างๆ เช่นพวกสื่อ หนัง หรือละคร เราต่างถูกภาพจำลองที่โลกสมัยใหม่สร้างขึ้นมานำความคิดและความเชื่อ เราเลยเหมือนอยู่ในโลกจำลอง (simulation) กันอยู่ตลอดเวลา ยอมรับว่าแนวคิดของโบลิยาร์เรื่องนี้ค่อนข้างยากและซับซ้อน แต่ก็ส่งผลต่อแนวคิดเรื่องสื่อ เรื่องปรัชญาระหว่างการรู้ความจริงและความจริง

The Second Sex – Simone de Beauvoir

เพศที่ 2’ แค่ชื่อก็จี้เข้าไปในประเด็นว่าผู้หญิงเป็นเพศ ‘ลำดับที่สอง’ เป็นเพศที่มีสถานะรองจากผู้ชาย The Second Sex เป็นงานระดับขึ้นหิ้ง หมุดหมายเล่มสำคัญของแนวคิดสายเฟมินิสต์ เป็นจุดเริ่มต้นของสตรีนิยมคลื่นลูกที่สอง ซิมอน เดอ โบวัวร์ชี้ให้เห็นว่าผู้หญิงถูกวาดให้เป็นอื่นสำหรับผู้ชาย และถูกนิยามจากการตกเป็นรองจากลักษณะทางกายภาพต่างๆ แต่โบวัวร์บอกว่าเราจะดูแค่ลักษณะทางชีวภาพอย่างเดียวไม่ได้ ต้องดูมุมอื่นๆ ที่ซับซ้อนกว่านั้น งานเขียนชิ้นนี้เป็นตัวบทสำคัญที่ใครๆ ก็ต้องอ่าน ไม่ว่าจะเป็นสายสตรีนิยมหรือไม่

The Laugh of the Medusa – Hélène Cixous

อีกหนึ่งเล่มของสายสตรีนิยม ‘เสียงหัวเราะแห่งเมดูซ่า’ เป็นงานที่ Hélène Cixous ไปวิเคราะห์สังคมและวรรณคดี ว่างานเขียนและสังคมมีนัยความไม่เสมอภาคทางเพศอย่างไร ยิ่งไปกว่านั้น งานของ Cixous ยังชวนให้ผู้หญิงกลับมาใช้พลังของตัวเองผ่านงานเขียน ดังนั้น ชื่อเสียงหัวเราะของเมดูซ่าจึงเป็นการเน้นถึงพลังอำนาจของผู้หญิงที่ถูกวาดให้น่ากลัว

Gender Trouble – Judith Butler

อีกหนึ่งตัวแม่ของทฤษฎีสายเควียร์ ชื่อหนังสือก็ว่าด้วยปัญหาของเพศสถานะ (gender) จูดิธ บัตเลอร์ เป็นเจ้าแม่ที่ทบทวนว่าอะไรคือผู้หญิง อะไรคือความเป็นผู้หญิง ตัวตนอันซับซ้อนที่เรายึดถือจริงๆ แล้วมีปัญหา มีความซับซ้อนอย่างไร ทฤษฎีสำคัญของบัตเลอร์คือ Performativity เพศสถานะที่รู้สึกว่าผู้ชายต้องเป็นแบบนี้แบบนั้น จริงๆ แล้วกลับมีความลื่นไหล และมีมิติของการ perform

Black Skin, White Masks – Frantz Fanon

ผิวดำ – หน้ากากขาว‘ งานเขียนของ Fanon เป็นงานเขียนแนวหลังอาณานิคม พูดเรื่องประวัติศาสตร์และผลกระทบของการเหยียดสีผิวและการลดทอนความเป็นมนุษย์ผ่านการสร้าง ‘ความเป็นผิวดำ’ (blackness) ขึ้น งานเขียนนี้ค่อนข้างซับซ้อนเพราะ Fanon ใช้กรอบคิดเชิงจิตวิทยาและจิตวิเคราะห์ ผลกระทบของการล่าอาณานิคมในที่สุดจึงเป็นการส่งผ่านความคิดที่ฝังลงไประดับตัวตนคนผิวดำ เหมือนเป็นคนดำที่ใส่หน้ากากสีขาว

Crd:thematter.co

 

18 COMMENTS

  1. Please let me know if you’re looking for a article author for your blog.

    You have some really great posts and I feel I would be
    a good asset. If you ever want to take some
    of the load off, I’d absolutely love to write some articles for your blog
    in exchange for a link back to mine. Please shoot me an email if interested.
    Thanks!

  2. Unquestionably believe that which you said. Your
    favorite justification seemed to be on the net the simplest thing to
    be aware of. I say to you, I certainly get annoyed
    while people think about worries that they plainly do not know about.

    You managed to hit the nail upon the top and also defined out the whole
    thing without having side-effects , people could take a signal.
    Will likely be back to get more. Thanks

  3. Excellent post. I was checking continuously this blog and I am impressed!
    Extremely useful info specifically the last part 🙂 I care for such information much.
    I was seeking this particular information for a long
    time. Thank you and best of luck.

  4. Hi, I do believe this is an excellent blog. I stumbledupon it 😉 I’m going to come back once again since I bookmarked it. Money and freedom is the best way to change, may you be rich and continue to help other people.

  5. Hi there! This article couldn’t be written any better! Looking at this post reminds me of my previous roommate! He always kept talking about this. I’ll forward this information to him. Pretty sure he’ll have a good read. Thank you for sharing!

LEAVE A REPLY

Please enter your comment!
Please enter your name here